30 พฤศจิกายน 2548

การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย

ตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5)(8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร (7)
ในสัปดาห์นี้ขอนำประเด็นแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65(5)(8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 ที่เพิ่งออกมาใหม่เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2548 แต่มีผลใช้บังคับย้อนกลับไป ณ วันที่ 1 มีนาคม 2548
จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา กรณีบริษัท ง. จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคาร ได้รับชำระราคาค่าบริการในวันศุกร์ ที่ 29 เมษายน 2548 วันเสาร์ ที่ 30 เมษายน 2548 วันอาทิตย์ ที่ 1 พฤษภาคม 2548 วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2548 และวันอังคาร ที่ 3 พฤษภาคม 2548 บริษัท ง. จำกัด จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษีอย่างไร วิสัชนา บริษัท ง. จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้
ปุจฉา บริษัท จ. จำกัด ได้ขายน้ำมันให้แก่บริษัท ฉ. จำกัด โดยตกลงราคาน้ำมันเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท จ. จำกัด ส่งมอบน้ำมันในวันพุธ ที่ 4 พฤษภาคม 2548 เป็นจำนวน 2 ครั้งดังนี้
ครั้งแรกเป็นบริษัท จ. จำกัด ส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละวัน และเป็นเวลาก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันในแต่ละวัน (ธนาคารพาณิชย์จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละวัน เริ่มต้นในเวลาประมาณ 08.00 น. ของแต่ละวัน ซึ่งอาจมีการประกาศอีกหลายครั้งในแต่ละวัน และธนาคารแห่งประเทศไทย จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันในแต่ละวันในเวลาประมาณ 08.00 น. ของแต่ละวัน) และ
ครั้งที่สองเวลา 08.30 น. ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละวัน และธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันในแต่ละวันแล้ว บริษัท จ. จำกัด จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษีอย่างไร
วิสัชนา บริษัท จ. จำกัด มีสิทธิใช้เลือกอัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษีดังนี้
ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติในการออกใบกำกับภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ และการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 อย่างไร
วิสัชนา กรณีการออกใบกำกับภาษีสำหรับกิจการดังกล่าว เป็นไปตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการปฏิบัติดังนี้
1. สำหรับการขายสินค้าโดยการส่งออกหรือการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิใช้ใบกำกับสินค้าหรืออินวอยซ์ ซึ่งผู้ส่งออกหรือผู้ให้บริการได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าใบกำกับสินค้าหรือใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ได้ออกเป็นเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีในกรณีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศได้
2. สำหรับการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน ผู้ประกอบการมีสิทธิใช้แอร์เวย์ บิล หรือเฮ้าส์ แอร์เวย์ บิล ที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนรับขนส่งได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าแอร์เวย์ บิล หรือเฮ้าส์ แอร์เวย์ บิล ได้ออกเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศได้
จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ไขปัญหาภาษี วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก