12 ตุลาคม 2548

SMEs (4)

ขอนำประเด็นการเลือกรูปแบบในการประกอบธุรกิจ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้ครับ
ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ในการเลือกรูปแบบการประกอบธุรกิจ โดยพิจารณาจากอัตราภาษีเงินได้อย่างไร
วิสัชนา การพิจารณาเลือกรูปแบบธุรกิจจากอัตราภาษีเงินได้มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีวิธีการคำนวณภาษีเงินได้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 การคำนวณภาษีเงินได้จากเงินสุทธิ ภาษีเงินได้ (1) = เงินได้สุทธิ X อัตราภาษีก้าวหน้า เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย (เหมา/จริง) หักค่าลดหย่อน วิธีที่ 2 การคำนวณภาษีเงินได้จากยอดเงินได้พึงประเมินภาษีเงินได้ (2) = เงินได้พึงประเมินทุกประเภท (ยกเว้นเงินได้ตาม ม.40 (1)) ที่มีจำนวนเงินรวมกันถึง 60,000 บาท X 0.5% ให้เปรียบเทียบภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 1 กับภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 วิธีใดสูงกว่าให้เสียตามวิธีนั้น ดังจะเห็นได้ว่า แม้วิธีที่ 1 จะไม่มีเงินสุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษี ซึ่งอาจเนื่องจากการประกอบธุรกิจขาดทุนสุทธิ หรือมีกำไรน้อย ไม่พอที่จะหักค่าลดหย่อนก็ตาม ผู้มีเงินได้ก็ต้องเสียเงินได้ตามวิธี 2 อันเปรียบเสมือนเป็นภาษีเงินได้ขั้นต่ำนั่นเอง 2.กรณีที่เงินได้นิติบุคคลกำหนดให้เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการ หรือเนื่องจากการประกอบกิจการที่ได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีใดรอบระยะเวลาหนึ่งในอัตราดังนี้ (1) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้าย ของรอบระยะเวลาบัญชีเกินกว่า 5 ล้านบาท รวมทั้งกิจการร่วมค้า ให้เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป 3.กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ อาจพิจารณาได้ว่า หากกิจการที่จะกระทำนั้นมีกำไรสุทธิโดยสม่ำเสมอทุกปี เป็นจำนวนเงินไม่เกินปีละประมาณ สี่ล้านบาท ควรเลือกประกอบธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งจะทำให้เสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 26.025 (หรือ 1,041,000 X 100 หารด้วย 4,000,000) อันเป็นอัตราภาษีไม่เกินอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องเสียในอัตราคงที่ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ
นอกจากนี้ กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนยังต้องเสียเงินได้บุคคลธรรมดา จากเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรอีกด้วย ยิ่งทำให้การเสียภาษีเงินได้ในรูปของบุคคลธรรมดาได้ประโยชน์สูงกว่าการเสียภาษีเงินได้ในรูปของนิติบุคคล
ดังนั้น ตราบเท่าที่จำนวนเงินได้สุทธิยังไม่เกิน 4 ล้านบาทต่อปี ก็ควรดำเนินการในรูปของบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ก็จะมีภาระภาษีเงินได้น้อยกว่า แต่เมื่อจำนวนเงินได้สุทธิขยับเกินกว่า 4 ล้านบาท ก็ควรพิจารณาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล SMEs ตั้งแต่เริ่มต้นปีเพื่อที่จะได้สิทธิประโยชน์จากอัตราภาษีดังกล่าว
จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ไขปัญหาภาษี วันที่ 12 ตุลาคม 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก