19 ตุลาคม 2548

การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย

ตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5)(8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65(5)(8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548
จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 มีผลใช้บังคับเมื่อใด และยกเลิกคำสั่งฉบับใด
วิสัชนา คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.71/2541 เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในการปฏิบัติการเพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การหักภาษีตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การออกในกำกับภาษี และลงรายการในรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างไร
วิสัชนา แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอาจแสดงเป็นตารางได้ดังนี้
1. ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 65 ทวิ (5) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
(1) เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยดังนี้
(ก) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจาก
(ข) ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
(ข) กรณีธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อ และอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น
(2) ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้สินค้านั้นมา เว้นแต่เงินตราประเทศนั้นจะแลกได้ในอัตราทางราชการ ก็ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราทางราชการนั้น
2. ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
ในกรณีที่มูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้า เป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศนั้นเป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีได้รับเงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้า การให้บริการ และได้มีการขายเงินตราต่างประเทศที่ได้รับชำระนั้นเป็นเงินตราไทยในเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ถือเงินตราไทยจากการขายนั้นเป็นมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการแล้วแต่กรณี เว้นแต่มิได้มีการขายเงินตราต่างประเทศในเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ถือตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้คำนวณไว้ในวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(2) ในกรณีนำเข้าสินค้า ให้คำนวณราคาซีไอเอฟ ของสินค้านำเข้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราที่กรมศุลกากรใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3. ในกรณีทั่วไปที่มิใช่ประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกเหนือสองกรณีดังกล่าวข้างต้น เช่น กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร
จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ไขปัญหาภาษี วันที่ 19 ตุลาคม 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก