06 กรกฎาคม 2548

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร (4)

ในสัปดาห์นี้ขอนำประเด็นภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย มาปุจฉา-วิสัชนา ต่อจากคราวก่อนดังนี้
ปุจฉา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร มีหลักเกณฑ์อย่างไรวิสัชนา หลักเกณฑ์ของภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีดังกล่าวมีดังนี้
1.เงินได้ตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้ที่เป็น (1) เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ - ดอกเบี้ยพันธบัตร ซึ่งจ่ายโดยรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ - ดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งจ่ายโดยธนาคาร - ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ซึ่งจ่ายโดยบริษัทจำกัด และรัฐวิสาหกิจ - ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ซึ่งจ่ายโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ ซึ่งจ่ายโดยบุคคลใดๆ เช่น บริษัท เป็นบริษัทในเครือของบริษัท ค. จำกัด ประเทศญี่ปุ่น บริษัท ได้กู้เงินจากบริษัท ค. จำกัด ซึ่งไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทยเช่นนี้ ดอกเบี้ยดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อบริษัท จ่ายดอกเบี้ยไปให้แก่บริษัทผู้ให้กู้ในประเทศญี่ปุ่น ที่มิใช่สถาบันการเงินหรือบริษัทประกันภัย ซึ่งมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย บริษัท จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคลจากดอกเบี้ยจ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของดอกเบี้ย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/10293 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2537)
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งจ่ายโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม - ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน ซึ่งจ่ายโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น - เงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ซึ่งจ่ายโดยบุคคลใดๆ - ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นที่ได้จากการให้กู้ยืม ซึ่งจ่ายโดยบุคคลใดๆ เช่น บริษัท ได้เข้าทำสัญญา Credit Agreement กับบริษัท K ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสาธารณเกาหลี และเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ตามสัญญาดังกล่าว บริษัท จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการประกันภัย (Credit Insurance Fee) ให้กับบริษัท K เนื่องจากบริษัท K ได้ไปกู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อนำมาให้บริษัท ตามสัญญา Credit Agreement ซึ่งตามสัญญาระหว่างบริษัท K กับธนาคาร นั้น ระบุว่า บริษัท K จะต้องซื้อประกันเพื่อประกันความเสี่ยงในการได้รับชำระสินเชื่อคืนจากบริษัท เช่นนี้ ค่าธรรมเนียมการประกันภัยที่บริษัท จ่ายให้กับบริษัท K เป็นประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมของบริษัท K จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัท จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่จ่าย ตาม มาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร - ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม ซึ่งจ่ายโดยบุคคลใดๆ (2) เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินปันผลที่ได้จากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของไทย เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของไทย เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากกองทุนรวมตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ที่อยู่ในบังคับที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม เฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว (3) เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (4) เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรหรือเงินที่กันไว้รวมกัน (5) เงินได้ตามมาตรา 40(4)(จ) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน (6) เงินได้มาตรา 40(4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน (7) เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน 2.โดยทั่วไปให้คำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ของเงินได้ที่จ่าย เว้นแต่กรณีจ่ายเงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยจากรัฐบาลหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมาย โดยเฉพาะของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม ไม่ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย 3.เงินได้ตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินได้ที่ไม่อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้จ่ายเงินได้จึงไม่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2)แห่งประมวลรัษฎากร
จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ไขปัญหาภาษี วันที่ 6 กรกฎาคม 2548

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก